ลักษณะที่ตั้ง / อาณาเขตและเขตการปกครอง |
ปัจจุบันเทศบาลตำบลหัว ไทร ตั้งอยู่ในพื้นที่บางส่วนของ หมู่ที่ 1, หมู่ที่ 8 ตำบลหัวไทร และหมู่ที่ 3, หมู่ที่ 7 ตำบลหน้าสตน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 1.8 ตารางกิโลเมตร โดยมีอาณาเขต ดังนี้ |
|
|
ด้านทิศเหนือ |
จากหลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ปากคลองเขาพังไกร ฝั่งตะวันตกเส้นเขตเลียบตามคลองหัวไทร ฝั่งตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งอยู่ห่างจากถนนอนุสรณ์ 250 เมตร จากหลักเขตที่ 2 เส้นเขตเป็นเส้นตรงขนานกับถนนอนุสรณ์ไปทางทิศตะวันออก ตัดผ่านถนนหัวไทร ปากพนัง ถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งติดอยู่ริมฝั่งทะเลห่างจากถนนอนุสรณ์ 250 เมตร |
ด้านทิศตะวันออก |
จากหลักเขตที่ 3 เส้นเขตเลียบตามชายฝั่งทะเลไปทางทิศใต้เป็นระยะ 500 เมตร ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งอยู่ห่างจากถนนหัวไทร ระโนด ตามแนวตั้งฉาก 180 เมตร |
ด้านทิศใต้ |
จากหลักเขตที่ 4 เส้นเขตเป็นเส้นตรงขนานกับถนนอนุสรณ์ไปทางทิศตะวันตก ถึง หลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งคลองหัวไทร ฝั่งตะวันตก ห่างจากถนนอนุสรณ์ 250 เมตร จากหลักเขตที่ 5 เลื่อนตามคลองหัวไทร ฝั่งตะวันตกไปทางทิศใต้เป็นระยะทาง 215 เมตร ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองหัวไทร ฝั่งตะวันตกห่างจากถนนอนุสรณ์ 465 เมตร จากหลักเขตที่ 6 เส้นเขตตรงไปทางทิศตะวันตก ตามแนวฝั่งทิศใต้ของถนนดงตาล ตัดผ่านถนนโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ ฝั่งทิศตะวันตกจากหลักเขตที่ 7 เส้นเขตตรงไปทางทิศเหนือเป็นระยะทาง 200 เมตร ตามแนวฝั่งตะวันตกของถนนโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่มุมโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ ตัดกับถนนหลังวัดหัวไทร จากหลักเขตที่ 8 เส้นเขตตรงไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนหลังวัดหัวไทรฝั่งทิศใต้ โดยตัดผ่านถนนหัวไทร เขาพังไกร ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองเขาพังไกรฝั่งตะวันตก |
ด้านทิศตะวันตก |
จากหลักเขตที่ 9 เส้นเขตเลียบไปตามฝั่งตะวันตกของคลองเขาพังไกร ไปทางทิศเหนือตัดผ่านถนนหัวไทร นครศรีธรรมราช จนบรรจบกับหลักเขต ที่ 1 |
|
|
|
สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ |
สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของเทศบาลตำบลหัวไทร มีทั้งลักษณะเป็นที่ราบและที่ราบลุ่ม บริเวณริมคลองหัวไทร ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นชายฝั่งทะเล |
ลักษณะภูมิอากาศ เทศบาลตำบลหัวไทรอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนแบบมรสุม |
|
|
- ฤดูฝน |
เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม จนถึง เดือน มกราคม โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง |
ช่วงแรก |
ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง เดือน ตุลาคม เป็นช่วงที่ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่จะมีฝนตกไม่มากนัก |
ช่วงที่สอง |
จากเดือน พฤศจิกายน ถึง มกราคม ได้รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดมาจากอ่าวไทยมีความชื้นสูง รวมทั้งพายุดีเปรสชั่น จึงมีปริมาณฝนสูงกว่าช่วงแรก |
- ฤดูร้อน |
เริ่มตั้งแต่ เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เดือน เมษายน เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อน ประกอบกับมีกระแสลมพัดจากทางใต้ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น และในช่วงดังกล่าวจะร้อนมากที่สุดในรอบปี โดยในแต่ละปีอุณหภูมิเฉลี่ย |
|
|
|