 |
|
|
|
อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล |
|
|
|
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2546 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ เป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย |
|
|
|
มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
1.รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2.ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
3.รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
4.ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
5.ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
6.ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
7.ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้บริการ
8.บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
9.หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาล ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด |
|
|
|
มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
1.ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
2.ให้มีโรงฆ่าสัตว์
3.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
4.ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
5.บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
6.ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
7.ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
8.ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
9.เทศพาณิชย์ |
|
|
|
อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 ให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยตนเองดังนี้
1.การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2.การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
3.การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
4.การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
5.การสาธารณูปการ
6.การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
7.การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
8.การส่งเสริมการท่องเที่ยว
9.การจัดการศึกษา
10.การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
11.การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
12.การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
13.การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14.การส่งเสริมการกีฬา
15.การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
16.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
17.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
18.การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
19.การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
20.การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
21.การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
22.การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
23.การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
24.การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25.การผังเมือง
26.การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
27.การดูแลรักษาที่สาธารณะ
28.การควบคุมอาคาร
29.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
30.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
31.กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
|
|
|
|
อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภายใน
สำนักปลัดเทศบาล
1. สำนักปลัดเทศบาล ให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปของเทศบาล และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง หรือส่วนราชการใดในเทศบาลโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเทศบาล ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของเทศบาล มีการแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้
1.1 ฝ่ายอำนวยการ มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานในงานการเจ้าหน้าที่ งาน
วิเคราะห์นโยบายและแผน งานนิติการ และงานธุรการ
1.2. ฝ่ายปกครอง มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานในงานทะเบียนราษฎร งานบัตรประจำตัวประชาชน และงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1.3 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับ |
|
|
|
2. กองคลัง มีหน้าที่ รับผิดชอบเกี่ยวกับการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และ
เอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกางานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่น ๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุของเทศบาลและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
2.1. ฝ่ายบริหารงานคลัง มีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในงานพัสดุและทรัพย์สิน งานการเงินและบัญชี งานผลประโยชน์ งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
2.2 งานธุรการ มีหน้าที่ เกี่ยวกับงานธุรการของกองหรือฝ่าย และงานดังต่อไปนี้
|
|
|
|
3. กองช่าง มีหน้าที่ รับผิดชอบเกี่ยวกับ การสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม
การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมายงานแผนการปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล การรวบรวมประวัติติดตามควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนควบคุมการเก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิงและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
3.1 ฝ่ายแบบแผนและก่อสร้าง มีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานวิศวกรรม งานสถาปัตยกรรมและการควบคุมอาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย
3.2 ฝ่ายการโยธา มีหน้าที่ ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงาน
สาธารณูปโภค และงานสถานที่ และไฟฟ้าสาธารณะ
3.3 งานธุรการ มีหน้าที่ เกี่ยวกับงานธุรการของกองหรือฝ่าย และงานดังต่อไปนี้ |
|
|
|
4. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสุขชุมชน ส่งเสริมสุขภาพและ
อนามัย การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการให้บริการด้านสาธารณสุข งานสัตวแพทย์ ในกรณียังไม่ได้จัดตั้งกองการแพทย์ จะมีงานด้านการรักษาพยาบาลในเบื้องต้น เกี่ยวกับศูนย์บริการสาธารณสุข มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
4.1 ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข มีหน้าที่ ควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติงานในหน้าที่ของงานสุขาภิบาลอนามัยและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่เกี่ยวกับ
4.2 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณของฝ่าย/กอง |
|
|
|
5. กองการศึกษา มีหน้าที่ รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษาทั้ง
การศึกษาระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา โดยให้มีงานธุรการ งานการเจ้าหน้าที่ งานบริหารวิชาการ งานโรงเรียน งานศึกษานิเทศ งานกิจกรรมนักเรียน งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุด พิพิธภัณฑ์และเครือข่ายทางการศึกษา งานการศาสนา ส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม งานกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กเยาวชนและการศึกษานอกโรงเรียน และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย มีการแบ่งส่วนราชการดังนี้
5.1. ฝ่ายบริหารการศึกษา มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานในงานกิจกรรมเด็กและเยาวชนและการศึกษานอกโรงเรียน งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม งานพัฒนาชุมชน และ
5.2 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณของฝ่าย/กอง |
|
|
|
6. กองการประปา มีหน้าที่ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำประปา
การติดตั้งประปา การควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับการงบประมาณรายได้ รายจ่าย การบัญชี พัสดุ การวางแผนปรับปรุงในข้อบกพร่องต่าง ๆ ของการประปารวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการแบ่งส่วนราชการดังนี้
6.1. ฝ่ายผลิต มีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบในงานผลิต งานติดตั้งและซ่อมแซม งานการเงินและบัญชี งานเร่งรัดรายได้
6.2 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณของฝ่าย/กอง |
|
|
|
7. กองสวัสดิการสังคม มีหน้าที่เกี่ยวกับภารกิจด้านสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ การจัดสวัสดิการเด็กและเยาวชน การพัฒนาอาชีพ งานกิจการสตรี และคนพิการ งานพัฒนาชุมชน งานชุมชนเมือง งานส่งเสริมและสวัสดิการสังคม เพื่อให้การบริการประชาชนและตอบสนองความต้องการของประชาชน
7.1. ฝ่ายพัฒนาชุมชน มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลและรับผิดชอบการปฎิบัติงานใน
หน้าที่ของงานพัฒนาชุมชน งานพัฒนาชุมชนเมือง งานส่งเสริมการเกษตร งานสังคมสงเคราะห์ งานสวัสดิการเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย
7.2 งานธุรการ มีหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณของฝ่าย/กอง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|